ข้อตกลงหลักเกณฑ์รับเรื่องร้องเรียน-ร้องทุกข์
1 ใช้ถ้อยคำหรือข้อความที่สุภาพ และต้องมี
- วัน เดือน ปี
- ชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์อีเมล์ที่สามารถติดต่อถึงผู้ร้องเรียนได้
- ข้อเท็จจริง หรือ พฤติการณ์ของเรื่องที่ร้องเรียนได้อย่างชัดเจนว่าได้รับ ความเดือดร้อน หรือ
เสียหายอย่างไร
ต้องการให้แก้ไขดำเนินการอย่างไร หรือ
ชี้ช่องทางแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับการทุจริตของเจ้าหน้าที่/หน่วยงานของกรมได้ชัดแจ้งเพียงพอที่สามารถดำเนินการสืบสวนสอบสวนได้
- ระบุ พยาน เอกสาร พยานวัตถุ และพยานบุคคล (ถ้ามี)
2 เรื่องร้องเรียนต้องเป็นเรื่องจริงที่มีมูลเหตุ
มิได้หวังสร้างกระแสหรือสร้างข่าวที่เสียหายต่อบุคคล
3 การใช้บริการร้องเรียนของกระทรวงสาธารณสุขนั้น
ต้องสามารถติดต่อกลับไปยังผู้ใช้บริการได้
เพื่อยืนยันว่ามีตัวตนจริง ไม่ได้สร้างเรื่องเพื่อกล่าวหาบุคคลอื่นหรือหน่วยงานต่างๆ
ให้เกิดความเสียหาย
4 เป็นเรื่องที่ผู้ร้องได้รับความเดือดร้อน หรือเสียหาย
อันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ
ของเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานภายในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
5
เป็นเรื่องที่ประสงค์ขอให้กระทรวงสาธารณสุขช่วยเหลือหรือขจัดความเดือดร้อน
ในด้านที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบหรือภารกิจของกระทรวง โดยตรง
6 เรื่องร้องเรียนที่มีข้อมูลไม่ครบถ้วน ไม่เพียงพอ
หรือไม่สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ในการดำเนินการตรวจสอบ สืบสวน สอบสวน ข้อเท็จจริง
ตามรายละเอียดที่กล่าวมาในข้อที่ 1 นั้น จะยุติเรื่องทันที
- ไม่เป็นเรื่องร้องเรียนที่เข้าลักษณะดังต่อไปนี้
- เรื่องร้องเรียนที่เป็นบัตรสนเท่ห์ เว้นแต่บัตรสนเท่ห์นั้นจะระบุรายละเอียดตามข้อที่ 1 นั้น
จึงจะรับไว้พิจารณาเป็นการเฉพาะเรื่อง
- เรื่องร้องเรียนที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมแล้ว
หรือเป็นเรื่องที่ศาลได้มีคำสั่งพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดแล้ว
- เรื่องร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์
- เรื่องร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับนโยบายของรัฐบาล
- เรื่องร้องเรียนที่หน่วยงานอื่นได้ดำเนินการตรวจสอบพิจารณาวินิจฉัยและได้มีข้อสรุปผลการพิจารณาเป็นที่เรียบร้อยไปแล้ว
ข้าพเจ้าขอรับรองว่าข้อเท็จจริงที่ได้ยื่นร้องเรียนต่อกระทรวงสาธารณสุขเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงทั้งหมด และขอรับผิดชอบต่อข้อเท็จจริงดังกล่าวข้างต้นทุกประการ การนำความเท็จมาร้องเรียนต่อเจ้าหน้าที่ ซึ่งทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหายอาจเป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา